มีศิลปินอยู่ท่านหนึ่งที่สร้างสรรค์งานเครื่องแก้วด้วยวิธีการอันละเอียดอ่อนจนได้แก้วที่มีความบางจนดูราวกับงานสร้างแก้วแบบดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นในสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1868) ศิลปินท่านนั้นก็คือ มาซาโอะ โคซุมิ ศิลปินผู้สร้างงานเครื่องแก้วผู้ถือกำเนิดในจังหวัดคุมาโมโตะ ปัจจุบันเขามีเตาเผาอยู่ในจังหวัดกิฟุ โดยเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ที่คุ้นเคยกับงานฝีมือและงานศิลปะอันเก่าแก่ของชาวญี่ปุ่น ชิ้นงานที่ปรากฎอยู่ในภาพนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “การเป่าอากาศ” อันเป็นการหลอมแก้วด้วยความร้อนที่ถูกพันไปโดยรอบแล้วเป่าขึ้นไปในอากาศให้คล้ายกับฟองสบู่ ชิ้นงานเหล่านี้จึงมีแนวโค้งที่ละเอียดอ่อนในลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งยากจะกระทำได้หากใช้แม่พิมพ์ พื้นผิวที่ดูเป็นธรรมชาตินี้จึงมีความละเอียดอ่อนอย่างที่เห็น ซึ่งเปรียบเสมือนกับหน้าปัดของรุ่น SBGH341 ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก “ซากุระ-คาคุชิ ซึ่งหมายถึงดอกซากุระที่ถูกซ่อนอยู่” อันเป็นการสะท้อนถึงความงามที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่ง
ซากุระ-คาคุชิ เป็นทิวทัศน์ที่หิมะปกคลุมดอกซากุระเอาไว้ในขณะที่ดอกซากุระกำลังบานสะพรั่ง ซึ่งถือเป็นภาพที่หาชมได้ยากเพราะเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ในขณะช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิในภูมิภาคโทโฮคุ อันเป็นสถานที่ซึ่งสตูดิโอ ชิสุกุอิชิ ของ Grand Seiko แหล่งกำเนิดนาฬิกาจักรกลของ Grand Seiko ตั้งอยู่ นาฬิการุ่น SBGH341 นี้เป็นการผสมผสานดีไซน์หน้าปัดที่ถ่ายทอดความงามอันสมบูรณ์แห่งความงามที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่ง เข้ากับดีไซน์ตัวเรือนที่เป็นการตีความแบบสมัยใหม่ของนาฬิการะดับไอคอนรุ่น 62GS ตัวเรือนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กเพียง 38 มิลลิเมตร ของนาฬิการุ่นนี้สอดคล้องกับขนาดของตัวเรือนซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในยุคปัจจุบัน และจะเป็นขนาดตัวเรือนที่อยู่เหนือกาลเวลาในอนาคต ตัวเรือนและสายถูกผลิตขึ้นจากไทเทเนียมที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งมีความต้านทานต่อการเกิดรอยขีดข่วนได้มากกว่าชนิดของไทเทเนียมที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป และด้วยน้ำหนักที่เบา จึงให้ความสบายในยามสวมใส่อยู่บนข้อมือได้เป็นอย่างดี
ภาพโดย = นาโอฮิโร สึคาดะ
เรื่องโดย = นัตสึกิ อันโดะ